วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีการใช้สำนวน

วิธีการใช้สำนวน 
            การใช้สำนวนที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถสื่อความหมาย ได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง และรวดเร็ว โดยทั่วไปเราใช้สำนวนเพื่อการสื่อสารในกรณีต่อไปนี้

1. ใช้ในการจูงใจ  เช่น  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา  ธรรมะย่อมชนะอธรรม  คบคนพาลพาลพาไปหาผิด  คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล  แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร เป็นต้น
ตัวอย่าง  

รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา หมายถึง การทำตัวดี ประพฤติดี มั่นหาความรู้ก็ได้งานดีรายได้สูง ถ้าทำตัวไม่ดี ขาดความรู้วิชาก็ต้องทำงานหนัก รายได้ต่ำ

2. ใช้ย่อข้อความยาว ๆ  เช่น  ขิงก็รา  ข่าก็แรง   ตัดหางปล่อยวัด   จับปลาสองมือ   กินเปล่า  ชุบมือเปิบ  ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  เป็นต้น
ตัวอย่าง 


ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง การเสียทรัพย์ไปในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มกับทรัพย์ที่ต้อง เสียไป

3. ใช้ขยายความหรือเน้นความเข้าใจ  เช่น  ปิดทองหลังพระ  หนีเสือปะจระเข้   ทำคุณบูชาโทษ  กินน้ำใต้ศอก  เรือล่มในหนองทองจะไปไหน หนูตกถังข้าวสาร เป็นต้น
ตัวอย่าง 


หนีเสือปะจระเข้ หมายถึง หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตรายอีกอย่างหนึ่ง

4. ใช้แทนถ้อยคำที่ไม่ต้องการกล่าวตรงๆ  เช่น  เฒ่าหัวงู   สิ้นบุญ  เจ้าโลก  บ้านเล็ก  ไก่แก่แม่ปลาช่อน โคแก่กินหญ้าอ่อน  วัวเคยขาม้าเคยขี่  เป็นต้น
ตัวอย่าง 

โคแก่กินหญ้าอ่อน หมายยถึง ชายสูงอายุหรือชายแก่ที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว โคหรือควายเมื่อแก่แล้วฟันจะไม่ดี การกินหญ้าอ่อน

จึงเคี้ยวง่ายกว่าหญ้าแห้งซึ่งนำมาเปรียบผู้ชายแก่ที่ชอบมีภรรยาสาวๆ

5. ใช้เพิ่มสีสันและความสละสลวยของถ้อยคำในการสื่อสาร  เช่น   ข้าวแดงแกงร้อน  อยู่เย็นเป็นสุข  รั้วรอบขอบชิด  คลุกคลีตีโมง  ขุดบ่อ ล่อ ปลา  เป็นต้น
ตัวอย่าง 

อยู่เย็นเป็นสุข


วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ลักษณะของสำนวน

สำนวนมีหลายลักษณะ ดังต่อไปนี้

1. สำนวนที่ใช้เปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่พูดถึง แฝงด้วยข้อคิดที่เรียกว่า คำพังเพย
                เช่น     แกะดำ หมายถึง คนที่ทำตัวแตกต่างจากผู้อื่น
                   กิ้งก่าได้ทอง หมายถึง เย่อหยิ่งเพราะได้ดีหรือมีทรัพย์เพียงเล็กน้อย
                   เอามือซุกหีบ หมายถึง หาเรื่องใส่ตัวโดยใช่เหตุ เป็นต้น

2. สำนวนที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อสอนให้ทำหรือเว้นไม่ให้ทำ เรียกว่า ภาษิต หรือ สุภาษิต
          เช่น     จับปูใสกระด้ง หมายถึง ยากที่จะทำให้อยู่นิ่งๆได้
                   น้ำลดตอผุด หมายถึง เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ
                   วัวหายล้อมคอก หมายถึง ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข เป็นต้น

3. สำนวนที่เป็นความหมายเปรียบเทียบ หรือความหมายแฝง ไม่ได้มีความหมายตรงตามความหมายเดิม
          เช่น     คำว่า    หงส์    
ความหมายตรง   หงส์ คือ ชื่อนกจำพวกเป็ด ลำตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด เช่น หงส์ขาว หงส์ดำ
ความหมายแฝง หงส์ คือ บุคคลที่มีความงามอ่อนช้อยเป็นสง่า
ตัวอย่างประโยค เช่น      คำว่า หงส์
ความหมายตรง หงส์ขาว เป็นพันธุ์ชนิดหนึ่งของหงส์
                             ความหมายแฝง ถ้าสุดารู้จักเลือกคบคนดี เธอก็จะเป็นหงส์ไปด้วย เป็นต้น

4. สำนวนที่เป็นปริศนาคำทาย เป็นการเล่นแบบหนึ่งของไทย ใช้ทายเพื่อให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และฝึกเชาว์ปัญญา
          เช่น     อะไรเอ่ย ยาวแค่ศอก ถอนขนออก ยาวตั้งวา        เฉลย ขวาน
                   อะไรเอ่ย ดินอะไรอยู่ในกระเป๋า                       เฉลย ดินสอ
                   อะไรเอ่ย สูงเยี่ยมเทียมฟ้า ดูไปดูมา ต่ำกว่าหญ้านิดเดียว       เฉลย ภูเขา เป็นต้น



ความหมาย

สำนวน  คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่สืบต่อกันมาช้านาน มีความหมายไม่ตรงตาตัว หรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ แสดงถึงความเป็นผู้มีศิลปะที่ดีในการสื่อสาร คนไทยนิยมใช้สำนวนโวหารมาตาโบราณ เพื่อกล่าวเปรียบเปรยท้วงติง สะกิดใจ และให้ข้อคิดแก่ผู้ฟังและผู้อ่าน