วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ลักษณะของสำนวน

สำนวนมีหลายลักษณะ ดังต่อไปนี้

1. สำนวนที่ใช้เปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่พูดถึง แฝงด้วยข้อคิดที่เรียกว่า คำพังเพย
                เช่น     แกะดำ หมายถึง คนที่ทำตัวแตกต่างจากผู้อื่น
                   กิ้งก่าได้ทอง หมายถึง เย่อหยิ่งเพราะได้ดีหรือมีทรัพย์เพียงเล็กน้อย
                   เอามือซุกหีบ หมายถึง หาเรื่องใส่ตัวโดยใช่เหตุ เป็นต้น

2. สำนวนที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อสอนให้ทำหรือเว้นไม่ให้ทำ เรียกว่า ภาษิต หรือ สุภาษิต
          เช่น     จับปูใสกระด้ง หมายถึง ยากที่จะทำให้อยู่นิ่งๆได้
                   น้ำลดตอผุด หมายถึง เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ
                   วัวหายล้อมคอก หมายถึง ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข เป็นต้น

3. สำนวนที่เป็นความหมายเปรียบเทียบ หรือความหมายแฝง ไม่ได้มีความหมายตรงตามความหมายเดิม
          เช่น     คำว่า    หงส์    
ความหมายตรง   หงส์ คือ ชื่อนกจำพวกเป็ด ลำตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด เช่น หงส์ขาว หงส์ดำ
ความหมายแฝง หงส์ คือ บุคคลที่มีความงามอ่อนช้อยเป็นสง่า
ตัวอย่างประโยค เช่น      คำว่า หงส์
ความหมายตรง หงส์ขาว เป็นพันธุ์ชนิดหนึ่งของหงส์
                             ความหมายแฝง ถ้าสุดารู้จักเลือกคบคนดี เธอก็จะเป็นหงส์ไปด้วย เป็นต้น

4. สำนวนที่เป็นปริศนาคำทาย เป็นการเล่นแบบหนึ่งของไทย ใช้ทายเพื่อให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และฝึกเชาว์ปัญญา
          เช่น     อะไรเอ่ย ยาวแค่ศอก ถอนขนออก ยาวตั้งวา        เฉลย ขวาน
                   อะไรเอ่ย ดินอะไรอยู่ในกระเป๋า                       เฉลย ดินสอ
                   อะไรเอ่ย สูงเยี่ยมเทียมฟ้า ดูไปดูมา ต่ำกว่าหญ้านิดเดียว       เฉลย ภูเขา เป็นต้น



3 ความคิดเห็น: